วัฒนธรรมและประเพณีภาคเหนือ

วัฒนธรรมการกิน

วัฒนธรรมการแต่งกาย

เพลงพื้นบ้านในภาคเหนือ

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว

ประเพณีทานข้าวสลาก

ประเพณียี่เป็ง

ประเพณีทานข้าวหลามและข้าวจี่

ประเพณีภาคเหนือ และวัฒนธรรมประเพณีภาคเหนือ

 ภาคเหนือ หรือล้านนา ดินแดนแห่งความหลากหลายทางประเพณีและวัฒนธรรมที่มีความน่าสนใจไม่น้อยไปกว่าภาคอื่นของไทย เพราะเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยเสน่ห์มนต์ขลัง ชวนให้น่าขึ้นไปสัมผัสความงดงามเหล่านี้ยิ่งนัก ส่วนบรรดานักท่องเที่ยวที่ไปเยี่ยมชม ต่างก็ประทับใจกับสถานที่ท่องเที่ยวมากมายและน้ำใจอันล้นเหลือของชาวเหนือ ดังนั้น ใครที่ยังไม่มีโอกาสได้ไปเยือนซักครั้งคงต้องไปแล้วล่ะค่ะ  ว่าแล้วเราก็ขอนำประวัติเล็ก ๆ น้อย ๆ พร้อมข้อมูลเกี่ยวกับวัฒนธรรมและประเพณีของภาคเหนือมาฝากกัน เผื่อเป็นไกด์ให้เพื่อน ๆ ได้ศึกษาหาข้อมูลก่อนจะเดินทางไปเยือนเมืองเหนือยังไงล่ะ

         สำหรับภาคเหนือของไทย มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเขตภูเขาสลับพื้นที่ราบระหว่างภูเขา ซึ่งผู้คนอาศัยอย่างกระจายตัวแบ่งกันเป็นกลุ่ม อาจเรียกว่า กลุ่มวัฒนธรรมล้านนา โดยจะมีวิถีชีวิตและขนบธรรมเนียมเก่าแก่เป็นของตนเองมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว แต่องค์ประกอบที่สำคัญก็ยังมีความคล้ายคลึงกันอยู่มาก อาทิ สำเนียงการพูด การขับร้อง ฟ้อนรำ การดำรงชีวิตแบบเกษตรกร การนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์และวิญญาณของบรรพบุรุษ ความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทการแสดงออกของความรู้สึกนึกคิดและอารมณ์โดยผ่านภาษาวรรณกรรม ดนตรี และงานฝีมือแม้กระทั่งการจัดงานฉลองสถานที่สำคัญที่มีมาแต่โบราณ เดิมวัฒนธรรมคนเมืองหรือคนล้านนา มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ ตามชื่อของอาณาจักรที่มีการปกครองแบบนครรัฐที่ตั้งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 โดยพญาเม็งราย

         เนื่องจากภูมิประเทศส่วนใหญ่ของภาคเหนือเป็นภูขาสูงสลับกับแอ่งหุบเขา ทำให้ในฤดูหนาวมีอากาศหนาวจัด ในฤดูร้อนจะมีอุณหภูมิค่อนข้างสูง เพราะอยู่ห่างไกลจากทะเล มีป่าไม้มากจึงถือเป็นแหล่งกำเนิดของแม่น้ำที่สำคัญหลายสาย  ได้แก่  แม่น้ำปิง แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน มีพื้นที่รวมทั้งหมด 93,690.85 ตารางกิโลเมตร และเมื่อเทียบขนาดภาคเหนือจะมีพื้นที่ใกล้เคียงกับประเทศฮังการีมากที่สุด แต่จะมีขนาดเล็กกว่าประเทศเกาหลีใต้เล็กน้อย 
วัฒนธรรมในท้องถิ่นของภาคเหนือ แบ่งออกได้ดังนี้

 วัฒนธรรมทางภาษาถิ่น

          ชาวไทยทางภาคเหนือมีภาษาล้านนาที่นุ่มนวลไพเราะ ซึ่งมีภาษาพูดและภาษาเขียนที่เรียกว่า “คำเมือง” ของภาคเหนือเอง โดยการพูดจะมีสำเนียงที่แตกต่างกันไปตามพื้นที่  ปัจจุบันยังคงใช้พูดติดต่อสื่อสารกัน

วัฒนธรรมการกิน

         ชาวเหนือมีวัฒนธรรมการกินคล้ายกับคนอีสาน  คือ  กินข้าวเหนียวและปลาร้า  ซึ่งภาษาเหนือเรียกว่า  ข้าวนิ่งและฮ้า  ส่วนกรรมวิธีการปรุงอาหารของภาคเหนือจะนิยมการต้ม  ปิ้ง แกง หมก ไม่นิยมใช้น้ำมัน ส่วนอาหารขึ้นชื่อเรียกว่าถ้าได้ไปเที่ยวต้องไปลิ้มลอง ได้แก่ น้ำพริกหนุ่ม, น้ำพริกอ่อง, น้ำพริกน้ำปู, ไส้อั่ว, แกงโฮะ, แกงฮังเล, แคบหมู, ผักกาดจอ ลาบหมู, ลาบเนื้อ, จิ้นส้ม (แหนม), ข้าวซอย, ขนมจีนน้ำเงี้ยว  เป็นต้น 

วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับศาสนา-ความเชื่อ

          ชาวล้านนามีความผูกพันอยู่กับการนับถือผีซึ่งเชื่อว่ามีสิ่งเร้าลับให้ความคุ้มครองรักษาอยู่  ซึ่งสามารถพบเห็นได้จากการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น เมื่อเวลาที่ต้องเข้าป่าหรือต้องค้างพักแรมอยู่ในป่า จะนิยมบอกกล่าวและขออนุญาตเจ้าที่-เจ้าทางอยู่เสมอ และเมื่อเวลาที่กินข้าวในป่าจะแบ่งอาหารบางส่วนให้เจ้าที่อีกด้วย เช่นกัน ซึ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่าวิถีชีวิตที่ยังคงผูกผันอยู่กับการนับถือผีสาง  

ประเพณีของภาคเหนือ เกิดจากการผสมผสานการดำเนินชีวิต และศาสนาพุทธความเชื่อเรื่องการนับถือผี ส่งผลทำให้มีประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของประเพณีที่จะแตกต่างกันไปตามฤดูกาล ทั้งนี้ ภาคเหนือจะมีงานประเพณีในรอบปีแทบทุกเดือน จึงขอยกตัวอย่างประเพณีภาคเหนือบางส่วนมานำเสนอ ดังนี้

สงกรานต์งานประเพณี ถือเป็นช่วงแรกของการเริ่มต้นปี๋ใหม่เมือง หรือสงกรานต์งานประเพณี โดยแบ่งออกเป็น

วันที่ 13 เมษายน  หรือวันสังขารล่อง  ถือเป็นวันสิ้นสุดของปี  โดยจะมีการยิงปืน  ยิงสโพก และจุดประทัดตั้งแต่ก่อนสว่างเพื่อขับไล่สิ่งไม่ดี  วันนี้ต้องเก็บกวาดบ้านเรือน และ ทำความสะอาดวัด

วันที่ 15 เมษายน  หรือวันพญาวัน เป็นวันเริ่มศักราชใหม่ มีการทำบุญถวายขันข้าว ถวายตุง  ไม้ค้ำโพธิ์ที่วัดสรงน้ำพระพุทธรูป พระธาตุและรดน้ำดำหัวขอพรจากผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือ

วันที่ 16-17  เมษายน  หรือวันปากปีและวันปากเดือน  เป็นวันทำพิธีทางไสยศาสตร์  สะเดาะเคราะห์  และบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ทั้งนี้ ชาวล้านนามีความเชื่อว่า การทำพิธีสืบชะตาจะช่วยต่ออายุให้ตน เอง ญาติพี่น้อง และบ้านเมืองให้ยืนยาว ทำให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองและความเป็นสิริมงคล โดยแบ่งการสืบชะตาแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ การสืบชะตาคน, การสืบชะตาบ้าน และการสืบชะตาเมือง

แห่นางแมว  ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม เป็นช่วงของการเพาะปลูก หากปีใดฝนแล้งไม่มีน้ำ จะทำให้นาข้าวเสียหาย ชาวบ้านจึงพึ่งพาสิ่งเหนือธรรมชาติ เช่น ทำพิธีขอฝนโดยการแห่นางแมว โดยมีความเชื่อกันว่าหากกระทำเช่นนั้นแล้วจะช่วยให้ฝนตก

ประเพณีปอยหลวง หรืองานบุญปอยหลวง เป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนาซึ่งเป็นผลดีต่อสภาพทางสังคม ถือว่าเป็นการให้ชาวบ้านได้มาทำบุญร่วมกัน ร่วมกันจัดงานทำให้เกิดความสามัคคีในการทำงาน งานทำบุญปอยหลวงยังเป็นการรวมญาติพี่น้องที่อยู่ต่างถิ่นได้มีโอกาสทำบุญร่วมกัน และมีการสืบทอดประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมาครั้งแต่บรรพชนไม่ให้สูญหายไปจากสังคม

            ช่วงเวลาจัดงานเริ่มจากเดือน 5 จนถึงเดือน  7 เหนือ (ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายนหรือเดือนพฤษภาคมของทุกปี) ระยะเวลา 3-7 วัน

ประเพณียี่เป็ง (วันเพ็ญเดือนยี่) หรืองานลอยกระทง โดยจะมีงาน “ตามผางผะติ้ป” (จุดประทีป) ซึ่งชาวภาคเหนือตอนล่างจะเรียกประเพณีนี้ว่า “พิธีจองเปรียง” หรือ “ลอยโขมด” เป็นงานที่ขึ้นชื่อที่จังหวัดสุโขทัย

 ประเพณีลอยกระทงสายหรือประทีปพันดวง ที่จังหวัดตาก ในเทศกาลเดียวกันด้วยในเดือน 3 หรือประมาณเดือนธันวาคม มีประเพณีตั้งธรรมหลวง (เทศน์มหาชาติ) และทอดผ้าป่า ในธันวาคมจะมีการเกี่ยว “ข้าวดอ” (คือข้าวสุกก่อนข้าวปี) พอถึงข้างแรมจึงจะมีการเกี่ยว “ข้าวปี”

              นอกจากงานเทศกาลประจำท้องถิ่นแล้ว ยังมีประเพณีความเชื่อดั้งเดิมของชนชาติไทยเผ่าต่าง ๆ ในพื้นที่ เช่น ไทยยวน ไทยลื้อ ไทยใหญ่ ไทยพวน ลัวะ และพวกแมง

เครื่องแต่งกายคนเหนือ

การแต่งกาย ภาคเหนือ

การแต่งกายพื้นบ้านล้านนา

การแต่งกายยุคฟื้นฟูวัฒนธรรม

suwaibah: การแต่งกาย ภาคเหนือ

 การแต่งกายของคนภาคเหนือที่เป็นชาวบ้านทั่วไป ชายจะนุ่งกางเกงขายาวลักษณะแบบกางเกงขายาวแบบ 3 ส่วน เรียกติดปากว่ า “เตี่ยว” หรือ เตี่ยวสะดอ ทำจากผ้าฝ้าย ย้อมสีน้ำเงินหรือสีดำ ส่วนเสื้อก็นิยมสวมเสื้อผ้าฝ้ายคอกลม แขนสั้น แบบผ่าอก กระดุม 5 เม็ด สีน้ำเงินหรือสีดำ เช่นเดียวกัน เรียกว่า เสื้อม่อฮ่อม ชุดนี้ใส่เวลาทำงานสำหรับหญิงชาวเหนือจะนุ่งผ้าซิ่น(ผ้าถุง)ยาวเกือบถึงตาตุ่ม นิยมนุ่งทั้งสาวและคนแก่ ผ้าถุงจะมีความประณีต งดงาม ตีนซิ่นจะมีลวดลายงดงาม ส่วนเสื้อจะเป็นเสื้อคอกลม มีสีสัน ลวดลายสวยงามเช่นเดียวกัน เรื่องการแต่งกายนี้ หญิงชาวเหนือจะแต่งตัวให้สวยงามอยู่เสมอ ชาวเหนือถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ

อาหารเหนือ

อาหารเหนือ เมนูเด็ดๆ ลำแต๊แต๊ อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ l Cheezebite

ไข่ป่าม

น้ำพริกหนุ่ม

ข้าวซอยไก่

แกงฮังเล

ขนมจีนน้ำเงี้ยว

อาหารเหนือเป็นอาหารที่น่าสนใจอีกภาคหนึ่ง เมนูค่อนข้างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น แกง น้ำพริก หรือยำ ประเภทของอาหารก็จะคล้ายภาคอื่น แต่อาหารเหนือจะมีรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์อย่างเด่นชัด เช่นผักบางชนิดก็หาได้ง่ายเฉพาะในภาคเหนือเท่านั้น เพราะภาคเหนือจะเต็มไปด้วยภูเขา จึงมีผัก มีสมุนไพรจากป่าเยอะแยะมากมาย จึงได้พริกแกงที่มีแต่สมุนไพรนานาชนิดๆ วันนี้เอาใจคนรักอาหารเหนือเลยรวมสูตรอาหารเหนือที่คัดมาแต่เมนูเด็ด ลำแต้แต้ แน่นอน

สถานที่ท่องเที่ยวเชียงราย

20 พิกัด เที่ยวเชียงราย หน้าหนาว ชวนแก๊งค์หนุ่มสาวไปเที่ยวกัน

ภูชี้ดาว

เชียงรายดอกไม้งาม

สิงค์ปารค์

วัดพระเเก้ว

วัดร่องขุน

เหนือสุดแดนสยาม

เชียงราย (คำเมือง:  เจียงฮาย; พม่า: ) เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย ตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของประเทศไทยในเชิงภูมิศาสตร์ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่าและประเทศลาว ทางตอนเหนือและตะวันออก, จังหวัดพะเยา และ จังหวัดลำปาง ทางทิศใต้ และจังหวัดเชียงใหม่ ทางทิศตะวันตก จังหวัดเชียงรายเป็นพื้นที่ดั้งเดิมของชาวไทยวน พื้นที่ของจังหวัดเชียงรายประกอบด้วยเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่ยุคก่อตั้ง หิรัญนครเงินยางเชียงแสน และ อาณาจักรล้านนา เช่น เมืองเงินยาง เมืองเชียงแสน และ เมืองเชียงราย[3] จังหวัดเชียงรายแบ่งการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ มีแม่น้ำกกแม่น้ำอิงแม่น้ำรวก และแม่น้ำโขง เป็นแม่น้ำสายสำคัญ ทำเลที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายอยู่บริเวณรอยต่อระหว่าง 3 ประเทศ คือ ประเทศไทย ประเทศพม่า และประเทศลาว หรือรู้จักกันในนามของดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ ในอดีตเคยเป็นแหล่งผลิตและขนส่งฝิ่นที่สำคัญของโลก ปัจจุบันจังหวัดเชียงรายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของประเทศไทย โดยในปี พ.ศ. 2561 มีจำนวนนักท่องเที่ยวรวมมากเป็นอันดับสองในภาคเหนือ รองจากจังหวัดเชียงใหม่ จำนวนราว 3,600,000 คน คิดเป็นชาวต่างชาติราว 620,000 คน สร้างรายได้ให้กับจังหวัดราว 28,500 ล้านบาท โดยมีท่าอากาศยานประจำจังหวัดคือท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวง[4] เศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายมาจากเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยมาจากการเกษตร การป่าไม้ และประมง ซึ่งมีมูลค่ารวมกว่า 32,500 ล้านบาท[5]

สถานที่ท่องเที่ยว

10 สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศไทยที่คนไทยต้องรู้ - Skyscanner Thailand

วนอุทยานถ้ำหลวง ขุนน้ำนางนอน

ดอยผาหมี

หาดแม่หาด

จูราสสิกพารค์เมืองไทย

หินตาหินยาย

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จ.กรุงเทพฯ 

สวนนกชัยนาท เที่ยว จ.ชัยนาท

สวนสนุกดรีมเวิลด์ จ.ปทุมธานี

ตลาดน้ำอโยธยา จ.อยุธยา

บึงสีไฟ จ.พิจิตร

การท่องเที่ยว หมายถึงการเดินทางเพื่อพักผ่อนหย่อนใจหรือเพื่อความสนุกสนานตื่นเต้นหรือเพื่อหาความรู้ องค์กรการท่องเที่ยวของสหประชาชาติ (อังกฤษ: World Tourism Organization) กำหนดไว้ว่า การท่องเที่ยวหมายถึงการเดินทาง โดยระยะทางมากกว่า 40 กิโลเมตรจากบ้าน เพื่อจุดประสงค์ในการพักผ่อนหย่อนใจ การท่องเที่ยวในประเทศไทยได้มีพัฒนาการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2467 สมัยพระเจาบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ครั้งทรงดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการรถไฟ ซึ่งในครั้งนั้นการท่องเที่ยวในประเทศไทย ยังเป็นการท่องเที่ยวเพื่อชมธรรมชาติและสถานที่ราชการ หรือสถานที่สำคัญที่ทางชาวต่างประเทศที่เขามาในประเทศไทยสร้างขึ้น แต่เมื่อประมาณ 10 ปี ที่ผ่านมาทางองค์การท่องเที่ยวโลก